วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่ 20 กุมพาพันธ์ 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้เป็นการเรียนวันสุดท้ายของราวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ 
อาจายร์ได้ให้นักศึกษาดู VDO เด็กสมาธิสั้นของสถาบันราชานุกูลเพื่อที่นักศึกษาจะได้เห็นตัวอย่างในบำบัดของสถาบัน และยังได้ศึกษาอาการของเด็กสมาธิสั้นของจริง การดูในครั้งนี้มีประโยชน์มาก เนื่องจาก เมื่อเด็กมีความบกพร่องผู้ปกครองควรยอมรับสิ่งที่ลูกเป็นเพื่อป้องกันให้เด็กได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ ควรเข้าพบแพย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อดูอาการของเด็ก

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

@@@@@วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจาย์รนำสื่อไปบริจาคให้กับโรงเรียนต่างจังหวัด@@@@@@

วันที่ 30 มกราคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

ความรู้ที่ไดัรับ

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กพิเศษ
ดูแลด้วยความรัก พัฒนาด้วยความเข้าใจ
                 แนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็ตาม ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลด้วยความรัก แล้วค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็จะไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ไม่ยาก
การดูแลด้วยความรัก ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมีอยู่เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเน้นย้ำ เนื่องจากในความรักที่มีอยู่นี้ มักจะถูกบดบังด้วยความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ และความรู้สึกอื่นๆ อีกมากมายในบางช่วงเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาได้ในการดูแล แต่จำเป็นต้องหาวิธีจัดการความรู้สึกต่างๆ อย่างเหมาะสมต่อไป
สำหรับการพัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้วต้องมีกระบวนการพัฒนาที่พิเศษ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ หลักเบื้องต้นง่ายๆ ในการพัฒนา คือ
“เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย”
“เด็กเป็นตัวตั้ง” กล่าวคือ ไม่มีสูตรสำเร็จรูปสำหรับการดูแลเด็กพิเศษทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอายุ ควรเข้าใจธรรมชาติที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกัน เด็กอาจมีความบกพร่องในบางด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในบางด้านเช่นกัน การมองแต่ความบกพร่องบางด้าน และคอยแก้ไขความบกพร่องไปเรื่อยๆ ก็อาจถึงทางตันในที่สุด ควรหันกลับมามองในด้านความสามารถของเด็กด้วยว่าเด็กมีความสามารถด้านใดบ้าง เพื่อวางแผนการดูแล ให้การส่งเสริมความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยชดเชยความบกพร่องที่มีอยู่ได้
ดังนั้นการดูแลต้องวางแผนให้สอดคล้องกับสิ่งที่เด็กมี และสิ่งที่เด็กเป็น โดยวางแผนเฉพาะรายบุคคล ให้มีความเหมาะสมตามวัย และตามพัฒนาการของเด็ก
“ครอบครัวเป็นตัวหาร” กล่าวคือ ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลเด็กพิเศษ และคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ถ้าครอบครัวไม่ดูแล แล้วจะมีใครดูแลได้ดีกว่าอีกเล่า
แต่ในการดูแลนั้น การมีความรักอยู่เต็มเปี่ยม อาจจะไม่เพียงพอ ถ้าขาดความเข้าใจ การมีความรู้ มีเจตคติที่ถูกต้อง และมีทักษะ พัฒนาเทคนิควิธีให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ควรมีทั้งครอบครัว ต้องเน้นคำว่า “ ครอบครัว ” เพราะว่าไม่มีใครเก่งคนเดียว ต้องให้ความไว้วางใจกัน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ครอบครัวเข้มแข็งคือพลังแห่งความสำเร็จ
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย คือ มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป แม่ดูแลเด็กอย่างทุ่มเท ในขณะที่พ่อพยายามทำงานหนักขึ้น เพื่อจุนเจือครอบครัว ในที่สุดก็เกิดช่องว่าง พ่อก็เริ่มไม่มีทักษะการดูแลเด็ก แม่ก็ไม่ไว้ใจให้พ่อดูแล ช่องว่างก็มากขึ้น จนเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในที่สุด
การเริ่มต้นและพัฒนาที่ดี คือการสุมหัวเข้าหากัน คุยกัน ไว้วางใจกัน และหารความรัก ให้ทุกคนในครอบครัวมีโอกาสช่วยเหลือเด็กเท่าๆ กัน
“ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” ณ วันนี้ ความก้าวหน้าทางวิชาการมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลใหม่ๆ มีเพิ่มเติมตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่คนเดียวจะรู้ทุกอย่าง มีทักษะทุกด้าน ตัวช่วยจึงมีความจำเป็น
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย จิตแพทย์เด็ก พยาบาล นักจิตวิทยา นักแก้ไขการพูด นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ หรือวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นตัวช่วยที่สามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษา และสาธิตเทคนิควิธีต่างๆ ให้นำไปฝึกปฏิบัติต่อไปได้
แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวหลักอย่างเช่นครอบครัว ฉะนั้นถ้าบทบาทผิดเพี้ยนไปจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญกลายเป็นตัวหลักขึ้นมา จะทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพที่มีอยู่จริง เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เชี่ยวชาญจะรู้จัก และเข้าใจเด็กได้ดีกว่าครอบครัวที่อยู่กับเด็กตลอด
เมื่อมองจุดสุดท้ายที่เด็กพิเศษควรจะเป็น คือ พัฒนาเต็มตามศักยภาพที่เขามีอยู่ ถ้ายังไม่ถึงจุดนั้น ณ วันนี้ ก็ไม่เป็นไร เพราะวันหนึ่งต้องไปถึงแน่นอน ถ้ายังมีการดูแลด้วยความรักและพัฒนาด้วยความเข้าใจ โดยยึดหลัก
                      “เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย”
จุดหมายปลายทางเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวัง แต่ระหว่างทางที่ไปสู่จุดหมายนั้น มีสิ่งสวยงามให้ชื่นชมมากมาย พัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละขั้น ก็คือสิ่งสวยงามที่น่าชื่นชม การชื่นชมสิ่งสวยงามที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ คือ กำลังใจที่ดีที่สุด



วันที่ 23 มกราคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนำเสนองาน
 กลุ่มที่ 5 ออทิสติก



@@@หลังจากนำเสนองานเสร็จมีการสอบกลางภาคในรายวิชา@@

วันที่ 16 มกราคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ

เพื่อนนำเสอนงานแต่ละกลุ่มโดยแต่ละกลุมจะได้เด็กที่ความบกพร่องที่ต่างกัน    
    กลุ่มที่ 1 เด็ก L.D
   กลุ่มที่ 2 เด็กสมองพิการ


 กลุ่มที่ 3 สมาธิสั้น


 กลุ่มที่ 4 ดาวซินโดม


วันที่ 9 มกราคม 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

ความรู้ที่ได้รับ

การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ

1)แบบทดสอบ DENVER II
2)Gesell Drawing Test   ให้เด็กวาดรูปตามที่กำหนด
3)แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุแรกเกิด- 5 ปี 

##ให้นักศึกษาลองวาดรูปตามที่อาจาย์รจะเปิดให้วามดทีละรูป##



ซึ่งการวาดแบบทดสอบนี้จะวัดระดับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุ แต่ก็ไม่สามารถวัดได้ ร้อยเปอร์เซ็น

แนวทางในการดูแลรักษาพัฒนาการ

  1.  หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ 
  2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  3. การรัดษาสาเหตุโดยตรง
  4. การส่งเสริมพัฒนาการ

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ
3.การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4.การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5.การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

วันที่ 26 ธันวาคม 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

สอบกลางภาคจึงไม่มีการเรียนการสอน